เอสโตรเจน ( Estrogen ) ทำให้ผิวพรรณสวยงาม
คุณผู้หญิงเคยสังเกตผิวของตัวเองในระหว่างก่อนและหลังการมีประจำเดือนหรือไม่คะ ส่วนตัวแล้ว สังเกตว่าตัวเองก่อนมีประจำเดือนผิวแห้งไม่เต่งตึง ไม่สดชื่น มีริ้วรอยง่ายจัง ถึงจะกินอาหารเสริมอะไรก็ไม่ค่อยเกิดผลเท่าไรนัก และจะมักเป็นสิวช่วง ก่อนมีประจำเดือน พอเป็นสิวก็กว่าจะรักษาหายมีรอยด่างดำ เป็นหลุมบ้าง เป็นปัญหา แต่ เมื่อหลังมีประจำเดือนแล้วผิวพรรณ ดูเรียบเนียนผิวเด้ง เต่งตึงนะคะ สิวที่เป็นก็หายไวขึ้น ผิวหน้าโดยรวมเนียนกระชับ หน้าก็ไม่มัน ผิวหน้าดูเด็กอ่ะดูดี ได้อย่างใจ เลยมานั่งคิดๆสังเกตตัวเองว่าทำไมเราถึงผิวพรรณไม่คงที่ กำลังคิดว่าอยากให้ตัวเองผิวพรรณ ได้อย่างใจเหมือนตอนช่วงหลังมีประจำเดือนอยู่ได้ตลอด admin เลยไปรองค้นข้อมูลมาค่ะว่าทำไม ช่วงการมีประจำเดือน ก่อนและหลังเรามีอะไรที่ทำให้เรามีผิวพรรณที่ดี อะไรที่ให้ผิวพรรณเราไม่ดี แล้วเราจะได้รู้วิธีการว่าทำอย่างไรให้เรามีผิวพรรณ สวยกระชับได้อย่างใจแบบช่วงหลังการมีประจำเดือน ช่วยให้เราสวยได้ ตลอดค่ะ

มาดูช่วงประจำเดือนของเราและปัญหาของผิวกันค่ะ
ลองสังเกตผิวของตัวเองให้ดี ในรอบ 1 เดือน จะมีช่วงที่ผิวดี สวยใสไม่มีปัญหา กับช่วงที่ผิวแย่ ปัญหารุมเร้า!! เช่นเป็นสิวหน้ามัน ผิวแห้ง ผิวคล้ำหมอง คุณผู้หญิง รองทำ เป็นปฎิทินประจำเดือนดูค่ะ เพื่อเป็นการดูเป็นปฎิทินตรวจเช็คสภาพผิว แล้วลองจดลักษณะของผิวเราในแต่ละช่วงของเดือนดูค่ะ เพียงแค่นี้ คุณผู้หญิงก็จะทราบสภาพของผิวคร่าวๆ ว่าในแต่ละเดือนผิวจะเปลี่ยนแปลงยังไง ช่วงไหนที่สุขภาพผิวดี ช่วงไหนที่สุขภาพผิวแย่ เพื่อการใช้ Skin Care หรือเครื่องสำอางเพื่่อดูแลให้เหมาะสม ก็เป็นการช่วยรักษาผิวให้สวยได้เสมอ และเทคนิคการดูแลบำรุงผิวให้ได้ประโยชน์สูงสุดด้วยค่ะ ลองมาดู รอบของประจำเดือนของผู้หญิงเรา จะแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ก็คือ
  • ช่วงที่มีเลือดประจำเดือน
  • ช่วงไข่สุก
  • ช่วงไข่ตก และ
  • ช่วงก่อนมีประจำเดือน
ช่วงไหนของผู้หญิงที่มี การเพิ่มและลดลงของเอสโตรเจน
ในแต่ละช่วงระยะของประจำเดือน มีฮอร์โมนในร่างกายของเราที่ปรับเปลี่ยนไปในรอบระยะต่างๆ ก็จะมีผลกระทบกับผิวของเราด้วยเช่นกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงสุขภาพผิวดังนี้
  • ช่วงเวลาของผิวสุขภาพดี
ช่วงเวลาหลังจากการมีประจำ เดือนไปแล้วและกำลังจะเข้าสู่ช่วงไข่สุก จะเป็นช่วงที่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ผิวจะมีความแข็งแรงมากที่สุด ผิวเด้ง ผิวใส ผิวไม่แห้งกร้าน มีน้ำมีนวล
ลองสังเกตกันดูนะคะ ช่วง หลังจากที่มีประจำเดือนไปแล้ว น่าจะประมาณ 1-3 อาทิตย์ แล้วแต่คนนะคะ ผิวจะชุ่มชื้นและเปล่งปลั่งกว่าช่วงอื่นๆ ดังนั้นในช่วงที่ผิวมีความแข็งแรงนี้ ใครที่อยากจะทดลองเครื่องสำอางใหม่ๆ หรือ การใช้เครื่องสำอางที่ช่วยให้ผิวขาวใสก็จะให้ผลที่ชัดเจนมากที่สุดค่ะ อาจจะเร่งอัดอาหารเสริมเพื่อบำรุงเร่งผิวขาวในช่วงนี้จะเห็นผลได้เร็วและชัดเจนมากๆ แต่ ฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้จะลดต่ำลงไปเมื่อเข้าสู่ช่วงก่อนมีประจำเดือน
  • ช่วงเวลาของสุขภาพผิวเริ่มจะอ่อนแอลง
หลังจากไข่ตกและกำลังเข้าสู่ ช่วงก่อนมีประจำเดือน (ประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนการมีประจำเดือน) จะเป็นช่วงที่ฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้ผิวของเราหลั่งน้ำมันธรรมชาติ ออกมามากขึ้นกว่าปกติ และ ช่วงใกล้ๆ มีประจำเดือนนี่เองที่ทำให้ผิวของเราอ่อนแอลง ทำให้ผิวเหนอะหนะ สิวขึ้นได้ง่ายๆ รวมถึง สิวฮอร์โมน รวม ไปถึงปัญหาที่สำคัญ ศัตรูตัวร้ายของผิวขาวสวย ซึ่งก็คือ กระ ฝ้า สร้างจุดด่างดำรักษายาก ดังนั้น ช่วงก่อนมีประจำเดือนนี้ จะต้องใส่ใจป้องกันเรื่องการโดนรังสียูวีให้มากเป็นพิเศษค่ะ
นอกจากนั้นช่วงนี้จะเป็นช่วง ที่ผิวแพ้ได้ง่าย ควรจะเลี่ยงจากทดลองเครื่องสำอางที่ไม่คุ้นเคย รวมไปถึงการใช้เครื่องสำอางเพื่อการขัดผิวต่างๆ ที่จะเป็นภาระกับผิวของเราในช่วงนี้ค่ะ ช่วงนี้ admin จะมีผิวที่อ่อนแอ ง่ายจริงๆ ค่ะ จะมีการ คันระคายเคืองที่ผิวง่ายมากๆ ส้นเท้าก็แห้งแตก
ปัญหาก่อนมีประจำเดือนที่ไม่ควรละเลย กับอาการ PMS : นอกจากนั้นในช่วงก่อนมีประจำเดือน ผู้หญิงทำงานถึง 70-80% จะมีอาการที่เรียกกันว่า PMS (Premenstrual syndrome) เช่น ปวดหัว หงุดหงิด ง่วงนอน หรือ รู้สึกเมื่อยล้า ไม่มีสมาธิในการทำงาน ดังนั้นนอกจากเรื่องการดูแลผิวแล้ว ยังต้องใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกาย และควรจะหาเวลาเพื่อพักผ่อนให้เพียงพอ
ทราบกันแล้วนะว่า ช่วงของการมีประจำเดือน ของผู้หญิงมีผลกับการเพิ่มลด ของ เอสโตรเจน ซึ่งเจ้า เอสโตรเจน มีผลในการทำให้เรามีผิวพรรณที่ดี
เอสโตรเจนหาได้จากที่ไหน
ฮอร์โมนเอสโตรเจน ได้นำมาสังเคราะห์ใช้เป็นยา ยาเม็ดคุมกำเนิด โดยยาเอสโตรเจนมีสรรพคุณ ดังนี้
  • ใช้เป็นยาคุมกำเนิด
  • ใช้รักษาสภาวะพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยหมดประจำเดือน
  • ใช้รักษาสภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร
  • ใช้รักษาการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อในอวัยวะเพศของสตรี
  • ใช้ป้องกันกระดูกพรุนในเพศหญิง
เอสโตรเจนออกฤทธิ์อย่างไร
ยาเอสโตรเจน เพิ่มการสังเคราะห์ทางพันธุกรรม (DNA,RNA) และกระตุ้นการสร้างเนื้อ เยื่อต่างๆ ในด้านการคุมกำเนิดจะทำให้ท่อนำไข่หดเกร็งจนทำให้ไข่เดินทางไปสู่มดลูกได้ยาก เอสโตรเจนสามารถดูดซึมได้ดีจากระบบทางเดินอาหาร และเปลี่ยนรูปภายในตับ ร่างกายสามารถขับเอสโตรเจนส่วนเกินออกโดยทางปัสสาวะและทางอุจจาระ
การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดต่างๆรวมทั้งยาเอสโตรเจน จะมีวิธีรับประทานที่แตก ต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของแพทย์ ขนาด และปริมาณฮอร์โมนที่ประกอบอยู่ในยา ปกติสามารถรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ที่สำคัญต้องได้รับคำแนะนำและวิธีรับประ ทานที่ถูกต้องจากแพทย์ หรือจากเภสัชกร เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการคุมกำเนิด ผู้บริโภคควรอ่านข้อแนะนำ และรายละเอียดปลีกย่อยได้จากเอกสารกำกับยา การรับประทานยาเอสโตรเจนผิดวิธี หรือผิดขนาด นอกจากจะไม่ได้รับประสิทธิผลของการคุมกำเนิด หรือของการรักษาแล้ว ยังอาจได้รับผลอันไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงติดตามมา
สำหรับเพศชาย
ใช้รักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลาม และระยะแพร่กระจาย โดยขนาดรับ ประทานสูงสุดไม่เกิน 2.5 มิลลิกรัม/ครั้ง วันละไม่เกิน 3ครั้ง
สำหรับเพศหญิง
ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ขนาดรับประทานสูงสุดไม่เกิน 0.625 มิลลิกรัม/วัน โดยรับประทาน 3 สัปดาห์ หยุด 1 สัปดาห์
รักษาการขาดประจำเดือน ขนาดรับประทานสูงสุดไม่เกิน 1.25 มิลลิกรัม/ครั้ง ไม่เกินวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 21 วัน หากรับประทานแล้วเกิดภาวะเลือดไหลชึม (Bleeding Per sis) ให้เพิ่มขนาดการรับประทานเป็น 2.5 มิลลิกรัม/ครั้ง วันละ 4 ครั้ง
รักษาอาการร้อนวูบวาบในวัยที่ใกล้หมดและใน วัยหมดประจำเดือน (Vasomo tor Symtoms) ขนาดรับประทานสูงสุดไม่เกิน 1.25 มิลลิกรัม/วัน
*****หมายเหตุ: ขนาดการใช้เอสโตรเจนในการรักษา ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น และเอสโตรเจนเป็นยาอันตราย มีผลข้างเคียงได้หลายอย่าง ดังจะกล่าวในหัวข้อ ผลไม่พึงประสงค์ และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ ดังนั้น ห้ามซื้อยาใช้เอง
เอสโตรเจนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นๆ ดังนี้
การกินยาเอสโตรเจนร่วมกับยาต้านเชื้อวัณโรคบางชนิด จะไปลดปริมาณความเข้มข้นของเอสโตรเจนในกระแสเลือด อาจทำให้ฤทธิ์ในการคุมกำเนิดด้อยประสิทธิภาพลง ยาต้านเชื้อวัณโรคดังกล่าว เช่น ยาไรแฟมพิซิน (Rifampicin)
การกินยาเอสโตรเจนร่วมกับยาสเตรอยด์ อาจทำให้พิษของยาสเตรอยด์มีมากขึ้น ยา สเตรอยด์ดังกล่าว เช่น ยาไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone)
การกินยาเอสโตรเจนร่วมกับวิตามินบางชนิด จะไปลดการทำงานของยาเอสโตรเจนในกระแสเลือด และทำให้ฤทธิ์ในการคุมกำเนิดด้อยประสิทธิภาพลง วิตามินดังกล่าว เช่น วิตามินซี
การใช้ เอสโตรเจน สังเคราะห์ที่หาซื้อทั่วไปอาจจะมีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ จึงควรได้รับ เอสโตรเจน จากธรรมชาติเท่านั้น
ผลข้างเคียงจากยาเอสโตรเจน
ผลไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงจากยาเอสโตรเจน คือ มีอาการทางระบบสืบพันธุ์สตรี เช่น ประจำเดือนมากระปริดกระปรอย ประจำเดือนขาดหรือไม่มีประจำเดือน และ/หรือมี อาเจียน ท้องเสีย วิตกกังวล พบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ซึมเศร้า เวียนศีรษะ อาจพบความดันโลหิตสูง ร่างกายอาจติดเชื้อรากลุ่มแคนดิดา (Candida) ได้ง่ายไขมันในเลือดสูง เช่น ไตรกลีเซไรด์ (Triglyceride) แอลดีแอล (LDL) และภาวะกล้าม เนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial Infarction)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

สาระน่ารู้อื่นๆ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts