ชื่ออื่น ๆ : มะขามป้อมดิน (ภาคเหนือ), หมากไข่หลัง (เลย), ไฟเดือนห้า (ชลบุรี), เตียงจูเช่า (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus urinaria Linn.
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลักษณะของลำต้นตั้งตรง ลำต้นมีความสูงประมาณ 4-16 นิ้ว ลักษณะของลำต้นเรียบไม่มีขน ข้อ และกิ่งก้านเป็นสีแดง
  • ใบ : ใบออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเรียงสลับกันเป็น 2 แถว ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบแหลมสั้น หรือมน โคนใบกลมมน หลังใบมีเป็นเขียว ส่วนใต้ท้องใบเป็นสีเขียวเทา ใบมีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 2-5 มม. ยาวประมาณ 5-15 มม. ก้านใบสั้น
  • ดอก : ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกเพศผู้และเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละดอก
  • ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมแบน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มม. ผิวเปลือกนอกขรุขระ ผลอ่อนเป็น สีเขียว เมื่อแก่ก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ข้างในผลเป็นรูปสามเหลี่ยม สีน้ำตาล ผลออกเรียงเป็นแถวอยู่ใต้ก้านใบ
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นเองตามสวน หรือที่รกร้างขึ้นได้ดีในเกือบทุกประเภท ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ทั้งลำต้น
สรรพคุณ :
  • ลำต้น ใช้ลำต้นสดประมาณ 30-60 กรัม (แห้ง 15-30 กรัม) นำมาต้มหรือคั้นเอาน้ำกิน เป็นยา แก้บิดถ่ายเป็นมูกเลือด ตับอักเสบ แก้ไข้ นิ่ว ขับปัสสาวะ ลำไส้อักเสบ ไตอักเสบบวมน้ำ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ต้อตาและเป็นโรคตาแดง หรือใช้ภายนอกในการตำพอก แผลที่บวมอักเสบ บริเวณริมปาก และศีรษะ เป็นต้น
ตำรับยา :
  1. เป็นไตอักเสบโดยเฉียบพลัน ให้ใช้ลำต้นแห้ง กับจั่วจิเช่า ในปริมาณอย่างละ 10 กรัม และเจียะอุ้ยแห้ง จีจูเช่าแห้ง ใช้อย่างละ 15 กรัม นำมาต้มรวมกันเอาน้ำกิน
  2. เด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหาร ตาฟาง ให้ใช้ลำต้นแห้งประมาณ 15-20 กรัม นำมาตุ๋น ผสมกับตับหมู และตับไก่ให้รับประทาน
  3. โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือเป็นนิ่วให้ใช้ลำต้นสด ผักกาดน้ำสด ต้นผีเสื้อน้ำสด ในปริมาณอย่างละ30 กรัม กูดงอแงสด ประมาณ 15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินตำรับยา (สัตว์) : 1. สัตว์เลี้ยงเป็นโรคบิด ให้ใช้ต้นสดประมาณ 250-500 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำหรือใช้ผสมกับอาหารให้กิน
  4. ลูกหมูเป็นบิด ถ่ายออกเป็นมูกเลือด ให้ใช้ลำต้นสดประมาณ 30 กรัม หญ้ากระต่ายจันทร์สด ประมาณ 12 กรัม นำมารวมกันตำคั้นเอาน้ำให้กินวันละ 2 ครั้ง
  5. วัว ตาเป็นต้อกระจก ตาฟาง ให้ใช้ลำต้นสด เถาสังวาลพระอินทร์สด และดอกเก๊กฮวย ในปริมาณอย่างละ 250 กรัม นำมาต้มเอาน้ำให้กิน 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

สาระน่ารู้อื่นๆ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts