ขมิ้นชัน สรรพคุณและประโยชน์ของขมิ้น 55 ข้อ
ขมิ้นชันกับการลด cholesterol
มีการทดลองในหนูขาวพบว่าสาร curcumin จะเพิ่มระดับของcholesterol-7-alpha-hydroxylase ซึ่งเป็นเอนไซม์ซึ่งกำหนดอัตราการสร้างน้ำดี ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าcurcumin กระตุ้นการเปลี่ยน cholesterol เป็นน้ำดี ซึ่งเป็นกลไกหลักของการขับถ่าย cholesterol ออกจากร่างกาย
ได้มีการศึกษาซึ่งทำในอาสาสมัครปกติจำนวน 33 คน โดยให้สารสกัดขมิ้นชัน 1 กรัม วันละ 2 ครั้งแล้ววัดปริมาณ total cholesterol, triglyceride, high-density lipoprotein cholesterol (HDL-C)และ low-density lipoprotein cholesterol (LDL-C) ก่อนการทดลองและเมื่อวันที่ 15 และ 60 หลังจากที่ได้รับประทานสารสกัดขมิ้นชัน พบว่าอาสาสมัครทั้งหมดมีค่า total cholesterol ลดลง 9.6-12.5 % ค่า triglyceride ลดลง 16.2-34.3 % และ LDL-C ลดลง 3.5-17 % ภายใน 15 วัน ส่วนค่า HDL-C จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (5.5-8.5 %)
การที่ขมิ้นชันสามารถลดไขมันในเลือดและลดการเกิด lipid peroxidation จะช่วยป้องกันโรคที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดหัวใจอุดกั้น (coronary heart disease) ได้ขมิ้นชันกับการป้องกันสารพิษในร่างกาย ในผู้ที่สูบบุหรี่ ขมิ้นชันจะช่วยลดอาการข้างเคียงลงได้บ้างมีการทดลองในคนที่สูบบุหรี่อย่างหนัก จำนวน 16 คน เมื่อได้รับ curcumin 1.5 กรัม / วัน เป็นเวลานาน 30 วัน จะช่วยลดการขับถ่ายทางปัสสาวะของสารก่อการ กลายพันธุ์ที่เกิดจากบุหรี่ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าร่างกายมีการจัดการกับสารที่อาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ดีขึ้น
มีผู้ศึกษาในหนูถึงผลของ curcumin ต่อตับที่ได้รับเอธิลแอลกอฮอล์ พบว่า curcumin จะลดการเพิ่มของเอนไซม์ aspartate transaminase และ alkaline phosphatase ซึ่งเกิดจากการได้รับเอธิลแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญในหนูที่ได้รับเอธิลแอลกอฮอล์จะมีการเพิ่มระดับ cholesterol, phospholipidและกรดไขมันในซีรัม แต่หนูที่ได้รับ curcumin ร่วมด้วย ค่าดังกล่าวจะลดลงในผู้ป่วยมะเร็งและกำลังได้รับการบำบัดทางเคมี ขมิ้นชันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาและลดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา ในหนูพบว่าการใช้สารสกัดขมิ้นชันร่วมกับยาที่ใช้รักษามะเร็งจะช่วยยืดอายุหนูได้

ขมิ้นชันกับการรักษาอาการอักเสบ 
ขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการรักษาอาการอักเสบและทำให้แผลหายเร็วในการทดลองแบบ double-blind controlled ที่ทำในคนไข้ผ่าตัดกลุ่มหนึ่ง มีการเปรียบเทียบกับคนไข้กลุ่มที่ได้รับ curcumin (400 มิลลิกรัม) กลุ่มที่ได้รับยาหลอกและกลุ่มที่ได้รับ phenylbutazone (100 มิลลิกรัม) 3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกัน 5 วัน หลังจากผ่าตัดพบว่า curcumin ให้ผลดีในการลดอาการอักเสบหลังผ่าตัดได้ดีเทียบเท่ากับ phenylbutazone ในผู้ป่วยที่เป็นไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ จำนวน 49 คน เมื่อให้ curcumin 1.2 กรัม ต่อวัน เป็นเวลา 5 ถึง 6 สัปดาห์ พบว่าคนไข้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น อาการข้อยึดในตอนเช้า (morning stiff-ness) จะลดลงซึ่งผลการรักษาเทียบเท่ากับกลุ่มที่ได้ phenylbutazone ขมิ้นชันกับฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา สารสกัดขมิ้นชันด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและสารสกัดด้วย chloroform ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ซึ่งมีผู้พบฤทธิ์ของผงขมิ้นชันและน้ำมันหอมระเหยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราโดยเฉพาะเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก Microsporum Trichophyton, Epidermophyton3
ขมิ้นชันกับการรักษาแผล (wound healing) 
มีรายงานถึงคุณสมบัติในการรักษาแผลของขมิ้นชัน เมื่อทาผงขมิ้นชันบนแผลติดเชื้อและแผลไม่ติดเชื้อในหนูขาวและในกระต่าย พบว่าขมิ้นชันจะเร่งการหายของแผลทั้ง 2 แบบให้เร็วขึ้น 23-24 % ซึ่งให้ผลดีพอ ๆ กับ scarlet red ในขณะที่ผง sulfanilamide สารละลาย copper sulfate (0.1 %) และสารละลายsilver nitrate (0.1 %) ให้ผลดีน้อยกว่า4
ขมิ้นชันกับการรักษาผู้ติดเชื้อ HIV ในผู้ติดเชื้อ HIV เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายโดยไวรัส มีการทดลองซึ่งพบว่า curcumin สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ integrase ในเชื้อ HIV type I ดังนั้นจึงช่วยป้องกันไวรัสดังกล่าวเข้ามาอาศัยอยู่ในเซลล์ CD4 หรือ CD8 ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย11 มีการศึกษาในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV 18 คน10 โดยให้ curcumin 2 กรัม/วัน เป็นเวลาประมาณ 20 สัปดาห์ พบว่ามีการเพิ่มของเซลล์ CD4 และ CD8 อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ดังนั้น curcumin จึงมีประโยชน์ต่อผู้ติดเชื้อ HIV โดยอาจให้ร่วมกับยาฆ่าเชื้อHIV ตัวอื่นเพื่อลดความเป็นพิษของยานั้น ๆ
ความปลอดภัยของขมิ้นชัน
มีการศึกษาถึงความเป็นพิษของขมิ้นชันพบว่าเมื่อให้ผงขมิ้นชันแก่หนูถีบจักรทางปากขนาด 10 กรัม/น้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม ไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ ผลการทดสอบพิษเรื้อรังของผงขมิ้นชันในหนูขาวโดยมีกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับผงขมิ้นชันขนาด 0.03, 2.5 และ 5.0 กรัม/กิโลกรัม/วัน เป็นเวลานาน 6 เดือน ไม่พบว่ามีความผิดปกติในระบบใด ๆ ของสัตว์ทดลองนอกจากพบว่าหนูเพศผู้กลุ่มที่ได้รับขมิ้นชัน 2.5 และ 5.0 กรัม/กิโลกรัม/วัน กินอาหารได้น้อยกว่ากลุ่มควบคุม 8 และ 12 % ตามลำดับ การเกิดปฏิกิริยากับยาอื่น
เมื่อใช้ขมิ้นชันในขนาดสูง ๆ มีข้อควรพิจารณาดังนี้
  • ขมิ้นชันอาจเพิ่มฤทธิ์ต่อเกล็ดเลือดของยาประเภทต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด (anticoagulant) และยาแก้ปวดประเภทที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
  • ขมิ้นชันอาจลดฤทธิ์ของยาประเภทกดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressant) ดังนั้นจึงควรระวัง ถ้าต้องใช้ร่วมกัน
ข้อควรระวัง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรเพราะยังไม่มีข้อมูลการใช้ในคนกลุ่มนี้ ขมิ้นชันถูกห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการเลือดไหล และการอุดตันของท่อน้ำดี และต้องระวังถ้าใช้ในผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ จากรายงานทั้งหมดข้างต้นจะเห็นว่าขมิ้นชันมีประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย ขมิ้นชันในขนาดที่ใช้ตาม
บัญชียาหลักแห่งชาติ (2-4 แคปซูล วันละ 4 เวลา หลังอาหารและก่อนนอน) นอกจากแก้ท้องอืดท้องเฟ้อแล้ว ยังมีผลดีต่อร่างกาย โดยเฉพาะเป็น antioxidant สำหรับการใช้ curcuminoid ซึ่งเป็นสารสกัดเข้มข้นของขมิ้นชัน เนื่องจากมีขนาดการใช้ที่แตกต่างกันสำหรับการรักษาอาการต่าง ๆ ควรมีความระมัดระวังในการใช้ โดยเฉพาะในขนาดสูง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ ขณะนี้สถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม ได้ทดลองสกัด curcuminoid และอยู่ในระหว่างการทดลองใช้ทางคลินิกในผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียประเภท b-thalassemia/Hb E disease โดยคณะผู้วิจัยที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เอกสารอ้างอิง
6. Srinivasan K. and Sambaiah K. The effect of spices on cholesterol 7 alpha-
hydroxylase activity and on serum and hepatic cholesterol levels in rat. Int. J.
Vitam. Nutr. Res. 1991; 61(4): 364-9.
7. Deshpande U.R., et al. Effect of turmeric extract on lipid profile in human
subjects. Medical Science Research. 1997; 25(10): 695-698.
8. Polase K., et al. Effect of turmeric on urinary mutagens in smokers.
Mutagenesis. 1992; 7(2): 107-9.
9. Rajakrishnan V., et al. Protective role of curcumin in ethanol toxicity. Phy-
totherapy Research. 1998; 12(1): 55-56.
10. Muhammed M., et al. Turmeric and the Healing Curcuminoids. Connec-
ticut: Keats Publishing, Inc, 1996; 22-23, 28-31.
11. Mazumder A., et al. Curcumin analogs with attered potencies against HIV-1
integrase as probes for biochemical mechanisms of drug action. J. Med. Chem.
1997; 40(1): 3057-63.
12. Sitlisomwong N., et al. Acute and subchronic toxicity of turmeric. Bull. Dept.
Med. Sci. 1990; 32 (3): 101-111.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

สาระน่ารู้อื่นๆ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts