Diabetes2
สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ได้แก่
  • ไหมข้าวโพด
  • ใบสักทอง
  • เห็ดหลินจือ
  • ไมยราบ
  • มะระขี้นก
  • บอระเพ็ด
  • ปัญจขันธ์
  • อินทนิลน้ำ
สมุนไพรเหล่านี้สามารถบำบัดและรักษาโรคเบาหวานได้ แต่ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมเรื่องอาหารและน้ำตาลในเลือดให้ดีเพื่อยับยั้งโรคเบาหวานด้วย
สมุนไพร ได้เข้ามามีบทบาทในการรักษาและควบคุมความรุนแรงของโรคที่มีผลต่อสุขภาพชีวิตของคนไทยได้หลายๆโรค เบาหวานก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถใช้สมุนไพรในการควบคุมความรุนแรงของโรคได้
  • เตยหอม(ทั้งใบและราก) กับ ใบของต้นสักทอง
เตยหอมเอาทั้งใบและราก ล้างให้สะอาด ตัดส่วนของใบสักทองและใบเตยหอมอย่างละเท่าๆ กันเอามาคั่วให้เหลือง ส่วนรากเตยหอมไม่ต้องคั่ว แต่เอามาทุบให้แตก แล้วใส่ทั้ง 3 อย่างลงในหม้อต้ม ใช้น้ำยารับประทานแทนต่างน้ำทุกวัน ประมาณ ๑ เดือน อาการก็จะดีขึ้น (หรือจะทำเป็นชาดื่มก็ได้)
  • เห็ดหลินจือ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด
เห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีสารสำคัญทางยาที่ลดน้ำตาลในเลือดได้คือสาร ที่อยู่ในกลุ่มของ โพลีแซ็กคาไรด์ ได้แก่ กาโนเดอแรน เอ บี และ ซี (Ganoderans A,B,C,) ช่วยลดน้ำตาลในกระแสเลือด ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของสารอินซูลินซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย ปัจจุบันได้มีการจดสิทธิบัตรสารสำคัญในเห็ดหลินจือ คือกาโนเดอแรน เอ บี และ ซี (Ganoderans A,B,C,) ทำเป็นยารักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีข้อบ่งชี้ใช้ลดน้ำตาลในเลือด
  • ใบอินทนินน้ำ
๒ - ๓ กำมือ นำมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อเติมน้ำ ต้มให้สุก ทิ้งไว้ให้เย็นลง แล้วใช้น้ำยารับประทาน
  • ต้นไมยราบ กับ ต้นครอบจักรวาลหรือต้นฟันจักรสี
อย่างละเท่ากัน นำมาหั่นตากแดดให้แห้ง คั่วไฟให้เหลือง ชงกับน้ำร้อนเป็นน้ำชาดื่ม
  • มะระขี้นก
มะระขี้นกเป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณประโยชน์แก่ร่างกายสูง ทั้งด้านคุณค่าทางอาหาร คือ พลังงาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย วิตามิน A, B1, B2, C ไนอาซีน และไทอามีน นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ทางยา คือ ลดน้ำตาลในเลือด (แก้โรคเบาหวาน) รักษาโรคเอดส์ และต้านเชื้อ HIV ต้านมะเร็ง ใช้เป็นยาถ่าย แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ มีรสขมช่วยให้เจริญอาหาร มีสาร charantin ช่วยลดน้ำตาลในเลือดสามารถบำบัดโรคเบาหวานได้ และ มะระยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี ไนอาซีน และเบต้าแคโรทีน อยู่ในระดับสูง ผลอ่อนของมะระขี้นกให้วิตามินซี และเบต้าแคโรทีนสูง
มะระขี้นกลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ในการรับประทานมะระขี้นก ให้หั่นเนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม ถ้าต้องการกลบรสขมให้เติมใบชาลงไปด้วยขณะที่ชง ดื่มต่างน้ำชา นอกจากนี้น้ำต้มผลมะระ สามารถลดการเกิด ต้อกระจก ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงในคนที่เป็นโรคเบาหวานได้
สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือ การรับประทานเมล็ดซึ่งมีสารกลุ่มไพริมิดีนนิวคลีโอไซด์ที่ชื่อว่า ไวซิน (Vicine) อาจจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ ปวดท้อง และอาการโคม่าได้ ดังนั้น พึงระลึกว่าเมล็ดของมะระขี้นกอาจมีพิษ หากจะนำผลมะระขี้นกมาทำยารับประทานต้องแกะเมล็ดออกเสมอ (แสงไทย, 2544)
  • อบเชย
อบเชย มีสารที่สำคัญคือ เมธิลไฮดรอกซี่ ซาลโคน โพลิเมอร์ (Methylhydroxy Chalcone Polymer หรือ MHCP) ซึ่งเป็นเป็นสารที่มีคุณสมบัติและความสามารถในการทำงานคล้ายกับฮอร์โมนอินซูลิน คือช่วยเพิ่มความสามารถในกรสันดาปกลูโคสให้ได้มากขึ้น จึงมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและจะไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ถ้ามีการรับประทาน "อบเชย""อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ การใช้อบเชยควบคุระดับน้ำตาลในเลือดนั้น จะมีความปลอดภัยมากว่าการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เพราะสามารถรับประทานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เกิดผลข้างเคียงกับร่างกายแต่อย่างใด โดยภายใน1 วันควรรับประทาน"อบเชย"อย่างน้อย 1 กรัม และให้รับประทานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ให้ผู้ป่วยทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยควบคู่ไปด้วย
(จาก วารสารยา สมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพร ฉบับที่ 12 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2549 )
  • บอระเพ็ด
บอระเพ็ด มีสาร N-trans-feruloyth-ramine, N-cis-feruloyltyramine, tinotuberide, phytosterol และ Picroretin สรรพคุณทางยาของบอระเพ็ดคือระงับความร้อนได้ดี สามารถแก้อาการเป็นไข้ ช่วยลดคลอเลสเตอรอล ลดน้ำตาลในเลือด ลดกรดยูริค ช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหารและยังช่วยให้เจริญอาหาร ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวได้ดีขึ้น การต้านอนุมูลอิสระ
รศ.ดร.งามผ่อง คงคาทิพย์ หัวหน้าโครงการสมุนไพร หน่วยปฏิบัติการผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า โครงการวิจัยค้นหาคุณสมบัติของสารสกัดสมุนไพรบอระเพ็ด (Tinospora crispa) มีความคืบหน้าอย่างมาก ขณะนี้สามารถระบุชนิดของสารสำคัญในบอระเพ็ดที่ออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้แล้ว และทดสอบไม่พบความเป็นพิษเฉียบพลัน ขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบความเป็นพิษเรื้อรังในหนูทดลอง
"เมื่อผลทดสอบไม่พบพิษเฉียบพลัน หมายความว่าเราสามารถรับบริโภคสดได้ ส่วนพิษเรื้อรังนั้นได้ทดสอบมาแล้ว 4 เดือน เหลืออีกประมาณ 2 เดือน จึงจะสรุปผลได้ว่า การบริโภคบอระเพ็ดต่อเนื่องทุกวันจะก่ออันตรายต่อตับและไตหรือไม่ นอกจากนี้ เรายังพบอีกว่าบอระเพ็ดจากสุพรรณบุรี พิจิตร ศรีสะเกษ มีคุณสมบัติรักษาเบาหวานดีกว่าบอระเพ็ดจากสระแก้ว" รศ.ดร.งามผ่อง กล่าว
สาเหตุที่เลือกวิจัยบอระเพ็ด เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ระบุอยู่ในตำรับยาไทยมากสุด โดยมีสรรพคุณที่ชัดเจน 4 ด้าน คือ บำรุงหัวใจ ลดไข้ เจริญอาหารและลดน้ำตาลในเลือด
รศ.ดร.งามผ่อง กล่าว "ลำต้นแก่จะมีสารกลุ่มอัลคาลอยด์มากกว่าลำต้นอ่อน ซึ่งช่วยเพิ่มแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องบนขวาและซ้ายได้ดี ขณะเดียวกันไม่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ จากปกติยารักษาโรคหัวใจจะเพิ่มทั้งแรงบีบตัวกล้ามเนื้อหัวใจและอัตราการเต้นของหัวใจด้วย ดังนั้น ถ้าได้ยาที่ไม่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจจะเป็นยาที่ดีกว่ายารักษาโรคหัวใจที่มีอยู่ปัจจุบัน จึงคาดหวังว่า 2 โครงการวิจัยข้างต้นน่าจะพัฒนาเป็น "ยาเสริม" สำหรับคนไข้เบาหวานและโรคหัวใจ"
คำแนะนำ 
ในการบริโภคบอระเพ็ดให้บริโภคคู่กับลูกใต้ใบ เพื่อลดพิษในตับ ลูกใต้ใบ มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาว่า มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส ลดไข้ ช่วยยับยั้งความเป็นพิษต่อตับ ขับปัสสาวะ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

สาระน่ารู้อื่นๆ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts