สมุนไพรรักษาโรคไต
โรคไต วายเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือที่เราเรียกกันว่าไตวาย หลายคนไม่เคยรู้จัก เลยไม่กลัวพิษภัยว่าจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไร สิ้นเปลืองค่ารักษาขนาดไหน แม้แต่เวลาในการไปรักษาหรือไปพบแพทย์แต่ละครั้ง ผู้ที่เคยเป็นหรือกำลังเป็น โรคไต วาย อยู่ก็จะรู้ดี มีผู้อ่านบางท่านอยากให้ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน โรคไต พิษณุโลก ไปสืบค้นสมุนไพร หรือพืชผักอะไรที่ช่วยยับยั้ง รักษา โรคไต วายได้ แล้วนำมา สังเคราะห์ ปรึกษาผู้รู้ แล้วนำมาเผยแพร่ ก็เลยได้ทำงานขนานใหญ่เพื่อนำมาเผยแพร่ให้กับผู้อ่านทุกท่าน โดยได้ปรึกษากับท่านอาจารย์ที่สอนสมุนไพรไทยของชมรมแพทย์แผนไทยพิษณุโลก (วัดทองหลาง) เพื่อหาตัวยามาให้กับทุกท่าน ขอเชิญติดตามก็แล้วกัน เผื่อเป็นประโยชน์
สมุนไพรมีมากมายหลายชนิดทึ่ช่วยบำรุง รักษา โรคไต ได้ ในความคิดของผมคิดว่าถ้าท่านจะเลือกใช้สมุนไพร ไม่ว่าจะเป็นการรักษา โรคไต หรือโรคใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังคือ เรื่องการรักษาความสะอาดของตัวยาสมุนไพร ระยะเวลาการเก็บรักษาสมุนไพร คือถ้าสมุนไพรเก็บไว้นานเกินคุณค่าของสมุนไพรอาจเสื่อมคุณภาพ และ อาจมีเชื้อรา ซึ่งผู้ที่จะนำมาใช้ควรมีความรู้และพิจารณาให้เข้าใจจึงจะเป็นประโยชน์ ในการเลือกใช้สมุนไพร นอกจากนี้แล้วสมุนไพรที่นำมารวมกันหลาย ๆ ตัว อาจมีสรรพคุณขัดกัน พูดง่ายๆ ทำลายกันเองดังนั้นจึงควรศึกษาให้เข้าใจจริง ๆ จึงจะทำให้เกิดประโยขน์ มิฉะนั้นแล้วจะเป็นโทษต่อผู้ใช้เอง

สมุนไพรที่จะกล่าวต่อไปนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงไต หรือ รักษา โรคไต คือ
1. รากหญ้าคา รากหญ้าคานี้มีรส หวานเล็กน้อย เมื่อนำมาล้างน้ำให้สะอาด ก็นำไปต้มกับน้ำสะอาดพอเดือดแล้ว นำน้ำนั้นมาดื่มต่างน้ำ เสมือนน้ำชา รับประทานเป็นประจำขะช่วยบำรุงไตให้ทำงานได้ดี มีอายุการทำงานได้นาน ไม่เสื่อม
2. หัวยาข้าวเย็นเหนือและใต้ มีสรรพคุณเหมือนกัน มีรสมันกร่อยหวานเล็กน้อย นิยมมาใช้แก้อักเสบ แก้ปัสสาวะพิการ โดยนำมาใช้ร่วมกับยาอื่น จะได้ผลดี
3. กระแตไต่ไม้
กระแตไต่ไม้
มีรสจืดเบื่อ เป็นพืชที่เกาะอยู่ตามไม้อื่น ๆ หรือเกาะอยู่ตามหินผา ใบแข็งใหญ่ห่อหุ้มหัวไว้มีใบเล็กติดก้านคล้ายใบเฟิร์น เป็นแฉก ๆ งอกออกจากหัว หัวยาวมีขนสีน้ำตาลแก่ห่อหุ้มอยู่ นำมาต้มดื่มน้ำแก้ไตพิการได้ แต่รับประทานมากจะเกิดอาการระบาย หรืออาจท้องเสีย ดังนั้นควรใส่ผสมตัวยาอื่น โดยใส่แต่เล็กน้อยจะใช้ได้ผลดี
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรคไต เป็นคำถามที่มักจะได้ยินบ่อยๆ คำตอบก้คือใช้การวินิจฉัยโรค ซึ่งตามหลักวิชาแพทย์จะอาศัยกรรมวิธี 3 ประการคือ
1. การซักประวัติ (Signs) จะได้ทราบถึงลักษณะอาการ
2. การตรวจทางร่างกาย (Symptoms) จะได้ทราบอาการที่แสดง
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab) คือการตรวจทางห้องแล็ป ได้แก่การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และการเอ็กซ์เรย์ รวมทั้งการตรวจทางพยาธิวิทยาเช่น การตรวจทางชิ้นเนื้อ การเพาะเลี้ยงเชื้อ เป็นต้น
โดยปกติแล้วเราต้องเรียนรู้กายวิภาคและสรีระหน้าที่ก่อน คือต้องรู้ว่าสภาพปกติของอวัยวะนั้นๆ เป็นอย่างไรก่อน แล้วจึงมารู้เรื่องพยาธิสภาพก็คือการรู้
ภาวะการเป็นโรคซึ่งจะทราบถึงอาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้องแล็ป พูดง่ายๆการที่จะรู้ว่าเป็น โรคไต หรือไม่ ก็ต้องรู้สภาพปกติและหน้าที่ของ
ไต รวมทั้งโรคต่างๆของไตเสียก่อน เมื่อไตเป็นโรคก็จะมีอาการ และอาการแสดงตลอดจนความผิดปกติทั้งทางสภาพและหน้าที่ เมื่อประมวลต่างๆเข้าด้วยกันก็จะรู้ว่าเป้น โรคไต หรือไม่
โรคไต สามารถใช้หลักในการแบ่งความผิดปกติได้หลายวิธี
1. แบ่งตามสาเหตุ
  • โรคไต ที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียวหรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไต เป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็นกรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
  • โรคไต ที่เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
  • โรคไต ที่เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคที่เรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อโรค) เป็นต้น
  • โรคไต ที่เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโตมะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
  • เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด
2.แบ่งตามกายวิภาคของไต
  • โรคของหลอดเลือดของไต เช่นมีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดไต
  • โรคของกลุ่มเลือดฝอยของไต (Glomerulus) ซึ่งพบได้มาก เกิดการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อ (Glomerulonephritis)
  • โรคของหลอดไต (Tubule) เช่นการตายของหลอดไตภายหลังอาการช็อคหรือได้รับสารพิษ เกิดภาวะไตวายแบบเฉียบพลัน (Acute renal failure)
  • โรคของเนื้อไต (Interstitium) เช่น แพ้ยาหรือได้รับสารพิษ เป็นต้น
3. แบ่งตามต้นเหตุ จะแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม
  • ต้นเหตุจากภายในไตเอง ซึ่งอาจรูหรือไม่รู้สาเหตุก็ได้
  • ต้นเหตุจากภายนอกไต เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรค SLE
อาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดและตามระยะของโรค สิ่งตรวจพบอย่างหนึ่งอาจตรวจพบได้ในหลายๆโรค ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อาการบวม อาจเกิดจาก โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ โรคขาดสารอาหารโปรตีน จากความผิดปกติของฮอร์โมน หรือจากผลข้างเคียงของยาบางตัว แต่คนทั่วไปอาจรูจักกันดีว่า อาการบวมเป็นอาการที่พบได้บ่อยใน โรคไต ซึ่งก็เป็นจริงถ้ามีลักษณะบ่งชี้เฉพาะของ โรคไต และแยก
แยะโรคอื่นๆออกไปแล้วในขณะเดียวกัน โรคอื่นๆอาจจะมีอาการและสิ่งตรวจพบได้หลายอย่างที่มีส่วนคล้านเช่นโรคเอส แอล อี ซึ่งเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาจมีอาการแสดงออกตามระบบต่างๆเช่น ผิวหนัง เส้นผม ข้อ ไต หัวใจ ปอด และระบบเลือดเป็นต้น
ดังนั้นการวินิจฉัยดรคไตจะใช้วิธีย้อนศร กล่าวคือจะเริ่มดูจากปัสสาวะ ก่อนเพราะไตเป็นตัวสร้างและขับถ่ายปัสสาวะ ดังนั้นปัสสาวะกับไตน่าจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ที่สำคัญต้องมีขบวนการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอ็กซ์เรย์ บางครั้งอาจต้องเจาะไต (kidney biopsy) เอาเนื้อไตมาตรวจจึงจะทราบว่าเป็น โรคไต
เหตุสงสัยว่าจะเป็น โรคไต พอจะสรุปได้ดังนี้
  • ปัสสาวะเป็นเลือด โดยปกติในน้ำปัสสาวะจะไม่มีเลือดหรือเม็ดเลือดสอออกมา อาจมีได้บ้างประมาณ 3-5 ตัว เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศ์ขยายปานกลางการมีเลือดออกในปัสสาวะถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น โรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ ปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มก็ได้ ในสตรีที่มีประจำเดือน ปัสสาวะอาจถูกปนด้วยประจำเดือน กลายเป็นปัสสาวะสีเลือดได้ ถือว่าปกติ ในโรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างเช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะมักจะเป็นเลือดสดๆ หรือเป็นลิ่มๆได้ ในโรคของเนื่อไตหรือตัวไตเอง การมีเลือดในปัสสาวะมักเป็นแบบสีล้างเนื้อ สีชาแก่ หรือสีเหลืองเข้ม ในผู้ป่วยชาย จำเป็นต้องตรวจค้นหาสาเหตุของปัสสาวะเป็นเลือด แม้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม แต่ในผู้หญิงเนื่องจากมีโอกาสกรพเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อยอาจตรวจค้นหาสาเหตุได้ช้าหน่อย ในหลายๆกรณีแม้การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ อาจยังไม่สามารถบอกสาเหตุได้ จำเป็นต้องเจาะเอาเนื่อไตมาตรวจโดยพยาธิแพทย์ จึงจะทราบถึงสาเหตุได้
  • ปัสสาวะเป็นฟองมาก คนปกติเวลาปัสสาวะอาจจะมีฟองขาวๆบ้าง แต่ถ้าในปัสสาวะมีไข่ขาว (albumin) หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองได้มาก ขาวๆ เหมือนฟองสบู่ จำเป็นต้องตรวจปัสสาวะ และเก็บปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะมาก ส่วนมากเป็นจากโรคหลอดเลือดฝอยของไตอักเสบจากไม่รู้สาเหตุ ทำให้ระดับโปรตีนในเลือดลดลงและเกิดอาการบวม รวมทั้งปริมาณโคเลสเตอรอลและไขมันเลือดสูงได้ดูการตรวจหาระดับโปรตีน (albumin) ในปัสสาวะด้วยตนเองการตรวจพบไข่ขาวออกมาในปัสสาวะในจำนวนไม่มากอาจพบได้ในโรคหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น แต่การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆกัน เป็นข้อสัญนิฐานที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็น โรคไต
  • ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว(มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งทีร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่นพวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น
  • การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากและท่อทางเดินปัสสาวะ
  • การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ
  • การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็น โรคไต เป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต
  • การปวดหลัง ในความหมายของคนทั่วๆไป การปวดหลังอาจไม่ใช่ โรคไต เพราะการปวดบริเวณเอวมักเกิดจากโรคกระดูและข้อ หรือกล้ามเนื้อ ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่นและปวดหลังบิเวณไตคือบริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย
อาการและอาการแสดงทั้งหมดที่กล่าวนี้ จัดเป็นอาการและอาการแสดงเฉพาะที่(local signs&symptoms) ซึ่งได้แก่ไต ทางเดินปัสสาวะ และการขับถ่ายปัสสาวะ นอกจากนั้นยังมีกลุ่มอาการและอาการแสดงที่ชวนให้สงสัยหรือเป็นส่วนหนึ่งของอาการดรคไตคือ อาการแสดงทั่วไป (systemic signs &symptoms) ได้แก่
อาการบวม เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็น โรคไต จะมีอาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมากจะมีอาการบวมทั่วตัว
อาจเกิดได้ใน โรคไต หลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไต อักเสบชนิดเนฟโฟรติคซินโดรม (Nephrotic Syndrome) อย่างไรก็ตามอาการบวมอาจเกิดได้จากโรค ตับ โรคหัวใจ การขาดสารอาหารโปร ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน และการบวมชนิดไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งต้องใช้การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้แยกแยะ หรือยืนยันให้แน่นอน
  • ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไตมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิตสูงอาจเป็นจาก โรคไต โดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆความดันโลหิตก็จะสูงได้ อย่างไรก็ตาม สาเหตุของความดันโลหิตสูงนั้นมีมากมาย โรคไต เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น แต่ก็เป็นสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  • ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับ โรคไต ก็คือ โรคไต วายเรื้อรัง (Chronic renalfailure) เนื่องจากปกติไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรังไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีดหรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามือ เป็นลมบ่อยๆ
ขอแนะนำว่า ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองเป็น โรคไต หรือไม่นั้น ต้องไปพบแพทย์ ทำการวักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้นว่าเป็น โรคไต หรือไม่ ถ้าหากพบแพทย์ท่านหนึ่งแล้วยังสงสัยอยู่ก็ขอให้ไปพบและปรึกษาแพทย์ โรคไต เฉพาะอายุรแพทย์ โรคไต (Nephrologist) หรือศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ (Urologist) ก็ได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

สาระน่ารู้อื่นๆ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts